วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การวัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม

การวัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม

หากเราเข้าใจอารมณ์ของตลาดว่าในช่วงนี้อยู่ในภาวะแบบใด ระหว่างช่วงภาวะตลาดกระทิง (ขาขึ้น) หรือภาวะตลาดหมี (ขาลง) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อในการเทรดนั้นอย่างยิ่ง ยิ่งถ้าเราสามารถเข้าใจว่าในช่วงนั้นแนวโน้มมีลักษณะอย่างใด แข็งแกร่ง หรือ อ่อนแอ และกำลังจะเปลี่ยนแนวโน้ม ก็จะยิ่งช่วยให้ประสิทธิในการอ่านตลาดและส่งผลต่อการเทรดให้ดีขึ้นด้วย
ก่อนหน้าที่ได้พูดถึงเครื่องมือในการแยกแยะแนวโน้มที่ดูว่าแนวโน้มในช่วงนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น ขาลง หรือ Sideway ในบทความนี้จะลงรายละเอียดเข้าไปอีกว่า แนวโน้มที่ดูอยู่นั้นมีความแข็งแกร่งมากเพียงใด โดยสามารถใช้วิธีเบื้องต้นในการดูความแข็งแกร่งดังกล่าวได้ 5 วิธี ที่จะช่วยให้เราเข้าใจถึงอารมณ์ตลาด ณ ช่วงเวลานั้น
            1) การดูพฤติกรรมราคา (Price action analysis)
การดูพฤติกรรมราคาเป็นหลักพื้นฐานในอธิบายการเคลื่อนไหวของพฤติกรรมราคา ในขั้นแรกเลยการดูทิศทางความแข็งแกร่งของแนวโน้มในช่วงนั้นให้ดูความราบรื่นในการขึ้นลง (Smoothness) ยกตัวอย่างเช่นในช่วงตลาด Bearish (ขาลง) รอบการลงจะราบรื่นกว่า ส่วนในช่วงราคา Rebound ในแนวโน้มขาลงนั้นจะไม่ค่อยราบรื่น (ดูจากตัวอย่างกราฟ)
อย่างต่อมาที่สำคัญคือ ช่วงขนาดการ Pullbacks ของราคา ตามรูปด้านล่างในช่วงแนวโน้มขาลงนั้น การ Pullback ของราคานั้นจะทำได้ไม่ดีนัก คือฟื้นตัวขึ้นมานิดเดียวแล้วแล้วก็อ่อนตัวลงต่อ แต่เมื่อการ Pullback นั้นเกิดผิดปกติ คือฟื้นตัวแรงกว่าปกติ ซึ่งจะเป็นสัญญาณที่อารมณ์ตลาดเริ่มเปลี่ยน อาจจะการเปลี่ยนแนวโน้มอันใกล้เกิดขึ้น
            2) ความชันของเส้น Trend line
ยิ่งความชันหรือองศาของเส้น Trend line เพิ่มมากขึ้นเท่าไร่ โมเมนตันในช่วงนั้นแสดงว่าแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น โดยความชันจะเป็นตัววัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม และอีกความหมายหนึ่งในการใช้เส้น Trend line คือเมื่อราคาเกิดการทะลุเส้นแนวโน้ม ก็จะเป็นสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้ม
            3) ADX
ADX เป็นเครื่องมือในการวัดความเป็นแนวโน้ม คือ ADX จะไม่อธิบายว่าแนวโน้ม ณ ขณะนั้นเป็นช่วงขาขึ้น หรือขาลง แต่จะบอกว่าการพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาในช่วงนั้นเป็น Trend หรือ Sideway ยิ่งค่า ADX สูงขึ้นก็จะแสดงถึงแนวโน้มในช่วงนั้นค่อนข้างแข็งแกร่ง แต่หาก ADX ลดลงก็จะแสดงถึงการอ่อนแอของแนวโน้มในช่วงนั้น
            4) เส้นค่าเฉลี่ย (MA)
การใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้น ในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค สามารถแยกแยะภาวะตลาดในช่วงนั้นได้ ตัวอย่างเช่น ใช้เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน และ 100 วัน โดยเมื่อ เส้นค่าเฉลี่ย 50 วัน (เส้นสั้น) ตัดเส้นค่าเฉลี่ย 100 วัน (เส้นยาว) ขึ้นจากล่างขึ้นบน ก็จะแสดงถึงภาวะตลาดที่เป็นช่วงขาขึ้น และตรงกันข้าม ถ้าเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันตัดเส้นค่าเฉลี่ย 100 วันลงมากจากบนลงล่าง ก็จะแสดงถึงเข้าสู่ภาวะตลาดขาลง
อีกอย่างหนึ่งในการใช้เส้นค่าเฉลี่ย 2 เส้นในการวัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มคือ “ช่วงห่างของเส้นค่าเฉลี่ยทั้งสอง” โดยยิ่งเส้นค่าเฉลี่ย2 เส้นห่างกันมากเท่าไร่ ยิ่งแสดงถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่งในช่วงนั้นมากเท่านั้น
            5) RSI
อีกหนึ่งเครื่องมือที่เทรดเดอร์สายวิเคราะห์กราฟนิยมใช้กันมาก โดย RSI เป็น Indicator อีกตัวหนึ่งที่สามารถวัดโมเมนตัมของราคาในช่วงนั้น จะคล้ายกับ ADX แต่ RSI จะสามารถดูทิศทางประกอบได้ด้วย ซึ่งในช่วงตลาดขาขึ้น RSI จะยก High และ Low สูงขึ้น ส่วนในช่วงตลาดขาลง RSI ก็จะทำ High ต่ำลง และ Low ต่ำลง และในตลาด Sideway เจ้า RSI ก็จะเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 30-70
ไม้ตายของ RSI ที่เป็นที่นิยม คือการหา Divergence เป็นช่วงที่ RSI และราคาสวนทิศทางกัน เช่น Bearish Divergence คือช่วงที่ ราคาทำ High สูงขึ้น แต่ RSI ทำ High ต่ำลง ซึ่งในลักษณะนี้เป็นการเกิด Bearish Divergence ส่วน Bullish Divergence ก็คือ ราคาทำ Low ต่ำลง ส่วน RSI ยกลงสูงขึ้น

ทักษะที่สำคัญของเทรดเดอร์คือการเข้าใจถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม และสามารถแยกแยะช่วงตลาดกระทิงและตลาดหมีได้ออก

ทีมงาน : pantipforex.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น