วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Time-frames ที่แตกต่าง

 Time-frames ที่แตกต่าง

Time-frames ที่แตกต่าง

การเลือกใช้ Time-frame ในการเทรดก็เป็นอีกหนึ่งตัวแปรที่จะช่วยให้เทรดเดอร์นั้นสามารถเพิ่มประสิทธิในการเทรดได้มากขึ้น การเลือกใช้ Time-frames ในการเทรดที่แตกต่างกันออกไป ผลลัพธ์ก็จะแตกต่างกันด้วยเช่นกัน โดยการเลือกใช้ Time-frames นั้นก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของตัวเทรดเดอร์เอง ว่าชอบแบบไหน สไตล์ไหน
Time-frames ยาว (Higher time-frames) – พวกรายเดือน , รายสัปดาห์ และ รายวัน โดยปกติพวกเดย์เทรดมักใช้ดู Time-frame เหล่านี้ในการมองภาพรวมของตลาด เพื่อที่คาดการณ์ทิศทางของตลาดโดยรวม ไม่เป็นใช้เป็นสัญญาณซื้อ/ขาย ส่วนพวกสวิงเทรดมักใช้ Time-frame เหล่านี้ไว้เป็นสัญญาณซื้อขาย โดย Time-frame ที่ยาว มักเหมาะกับพวกที่ไม่ค่อยมีเวลา หรือมีงานประจำทำอยู่ เนื่องจากไม่ต้องมานั่งเฝ้าหน้าจอบ่อย

ในทางทฤษฎีการเทรดใน Time-frames ใหญ่นั้นง่ายกว่าเพราะมีเวลาในการตัดสินใจค่อยข้างเยอะ แต่จริงๆ อาจไม่ใช่อย่างนั้น เพราะว่า Time-framesใหญ่นั้น ต้องอาศัยความอดทนที่สูง การรอจนกว่าจะเกิดสัญญาณ บางทีอาจรอนานเป็นสัปดาห์ อีกทั้งยังต้องเผชิญกับการแกว่งของราคาในช่วงที่ถือ Position ต้องควบคุมอารมณ์ในการเทรดให้คงที่
Time-frames สั้น (Lower Time-frames) - พวกราย 4 ชม. , รายชม. , ราย 30 นาที และราย 15 นาทีเป็นต้น โดย Time-frames ลักษณะนี้มักใช้กับพวกเดย์เทรด ใช้เทรดสั้นๆในวัน แม้ในการเทรด Time-frames สั้นจะไม่ต้องเผชิญกับการอดทนรอ แต่มักต้องเผชิญกับการเทรดมากเกินไป (over-trade) เนื่องจากเกิดสัญญาณบ่อยครั้งใน Time-frames สั้น และอาจต้องเผชิญกับการเอาคืนในการเทรด (revenge-trading) ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่เหล่าเดย์เทรดมักประสบกันบ่อยมาก
การใช้วิเคราะห์หลาย Time-frames มารวมกัน ตามหลักแล้วการวิเคราะห์ Time-frames นั้นควรเป็นแบบ Top-down approach ควรให้ความสำคัญกับ Time-frames ใหญ่ก่อน เพื่อหาทิศทางตลาดในภาพรวม ว่าตลาดอยู่ในแนวโน้มลักษณะใด (Uptrend , Downtrend หรือ Sideway) เพื่อกำหนดฝั่งในการเล่น (Long หรือ Short) แล้วจึงค่อยไปดู Time-frames ย่อย เพื่อกำหนดสัญญาณซื้อขาย

ทีมงาน : pantipforex.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น